วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสอบกลางภาค

   1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

         ความเป็นครูของพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูของผสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า พระองค์สอนให้รู้จักพอเพียง พึ่งพาตนเองไม่เบียดเบียนผู้อื่น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พระองค์สอนเราจากประสบการณ์ตรงของพระองค์ที่มีความห่วงใยต่อผสกนิกร เปรียบเสมือนพระองค์ คือ ครูของแผ่นดินที่ทรงสละความสบายเพื่อมาช่วยเหลือพวกเรา แต่ที่พระองค์สอนแปลกไปจากครูคนอื่น คือ พระองค์จะถ่ายทอดออกมาจากจิตใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตากรุณาและการปฎิบัติจริง พระองค์คอยรับสั่งอยู่ตลอดเวลาว่าคนที่จะมาทำหน้าที่ครูจะต้องพยายามจูงใจลูกศิษย์ให้มาสนใจและรับการถ่ายทอดจากครูด้วยความเต็มใจ และสอนให้ศิษย์ประพฤตนเป็นคนดีและรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
                                                                                            
2.ถ้าท่านเป็นรูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

               ข้าพเจ้าจะนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการนำความรู้ที่เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง  หลักการใช้เหตุผลใช้ปัญญาเป็นเครื่องนำทางในการใช้ชีวิ  การแก้ปัญหา  และการรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรปลูกฝังให้แก่นักเรียน 

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                    ออกแบบการเรียนการสอนโดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้  คือ  ต้องให้นักเรียนเข้าใจว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ




2.บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ (วารสาร

ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรอ่านหน้าที่ 

125-128) 

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
           
       สตีฟ จ๊อบส์ คือ เป็นคนมีความพากเพียรพยายาม  ขยัน  และตั้งใจที่จะทำสิ่งที่คาดหวังให้บรรลเป้าหมาย   เค้าอาจเป็นคนที่มีการศึกษาไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา” กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ได้และทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใด
ก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และจะรักศิษย์ทุกๆคนเท่ากันไม่ว่าเขาจะเรียนเก่งหรือไม่เก่งก็ตามและจะคอยให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆ


3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร

สอนเรื่องความสามัคคี

   1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความสามัคคี
2.เรียบเรียงข้อมูลความสามัคคีที่จะนำมาสอน
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน เช่น PowerPoint ใบความรู้แจกนักเรียน เป็นต้น
5.ทำ Mind Map เรื่องความสามัคคี

การสอน

1.นำเสนอสื่อการสอน PowerPoint เรื่องความสามัคคี
2.แจกใบความรู้นักเรียนเรื่องความสามัคคี
3.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้รับแล้วให้ทำ Mind Map เรื่องความ    สามัคคี
4.นักเรียนนำเสนอ Mind Map เรื่องความสามัคคี หน้าชั้นเรียน
5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่องความสามัคคี ที่แจกให้
6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่มจากการสังเกตของครูในแต่ละกลุ่ม


 

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4 การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

             การทำงานเป็มทีมจะประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการใช้วิชาความรู้  และความสามารถในการประสานสัมพันธิ์กับผู้อื่น  และควรกระทำอย่างบริสุทธิ์ปราศจากอคติ มีความถูกต้อง มีเหตุผล                                                                                                                                                                                                                                      
              การทำงานเป็นทีมจะทำให้งานที่ออกมานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                                                                                      
              ทีม  หมายถึง  กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่ทำงานร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน สมาชิกจะต้องเสียสละความเป็นส่วนตัวเพื่อส่วนรวม และจะต้องมีความเข้าใจกัน มีความผูกพันและให้ความร่วมมือกันในการทำงานกลุ่ม
                                                                                                                                                                                                                    
              แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของบุคคล
                                                                                     
    1.ยอมรับความแตกต่างของบุคคล                                                                                                               
    2.แรงจูงใจภายในกลุ่มของตนเอง                                                                                                                                       
    3.ธรรมชาติของมนุษย์
                                                                                                                               
              ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ   จะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และมีเป้าหมายอย่างชัดเจน มีความจริงใจต่อกัน ใว้ใจซึ่งกันและกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ใช้ความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ ทบทวนการทำงานและมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลารู้จักตนเองและสมาชิกในกลุ่มเป็นอย่างดี 

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3 การจัดการเรียนการสอน


กิจกรรมที่่ 3

       การจัดการเรียนการสอน

     ในยุคก่อนศตวรรษที่ 21  การเรียนรู้จะเกิดในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งจะเป็นความรู้แบบท่องจำ ไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  เป็นการเรียนรู้ที่มีการสิ้นสุด  มีผู้ถ่ายทอดความรู้มาให้ และโรงเรียนต้องเป็นผู้กล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นคนดี    ส่วนยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกแห่ง โดยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง คนเรามีความจำไม่เท่ากันการเรียนรู้จึงไม่เน้นความจำ  การเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ตนเองเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการเรียนรู้  สังคมจะเป็นสิ่งกำหนดและกล่อมเกลาเราให้เป็นคนดี
         
แนวการจัดการเรียนรู้
     
           จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ  และในบางสถานการณ์ก็จะต้องมีการยืดหยุ่นบ้าง  ครูจะต้องทันข่าวสาร  และจะต้องรู้จักใช้แหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและนักเรียนเสมอ โดยให้ผู้เรียนจัดการเรื่องการเรียนรู้ของตน  และมีครูเป็นผู้คอยให้คำปรึกษา
             สำหรับการเรียนรู้ในอนาคตนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก  การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น  สื่อ และเทคโนยีก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย  ดังนั้นครูในอนาคตจะเป็นเพียงตัวแทนของการเรียนรู้เท่านั้น ครูจึงต้องเป็นผู้ที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างชำนาญและมีประสิทธิภาพ

       

กิจกรรมที่ 2 ทฤษฏีการบริหารการศึกษา



  ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
               ทฤษฏีมาสโลว์ ป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม ได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 
          1. ความต้องการทางกายภาพ  คือ ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต 
          2. ความต้องการความปลอดภัย คือ ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
          3. ความต้องการทางสังคม คือ ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น ต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
          4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง คือ ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่อง
          5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต คือ ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์
           
ทฤษฎี X(Theory X)
               เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน  ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
              ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
          1.) Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต และเมื่อคนต่างชาติโดยเฉพาะคนตะวันออกเข้าไปอาศัยในอเมริกันก็จะสังเกตว่า คนอเมริกันเป็นคนโดดเดี่ยว มีสุงสิงกับใคร สังคมแบบ Individualism ส่งผลให้เกิดบุคลากรที่มีความรับผิดชอบในหน่วยงานสูง แต่ก็เกิดผลเสียคือ ไม่เกิดความผูกพัน หรือเป็น
          2.) Short Term Employmenคือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน จึงมักมีบริการให้เช่าสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมองว่าต้นทุนในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เมื่อย้ายงาน ออกจากบ้าน จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าเช่า
         3.) Individual Decision Making คือ สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม

William Ouchi : ทฤษฎี Z   
     ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน คุณวิลเลียม โอชิ ซึ่งเป็นชาวซามูไรเป็นคนคิดขึ้นมา 


วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง แล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎีซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย


1. ใช้วิธีแบบ Long Term Employment  หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น  ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน


2. จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility  คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป

3. ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 



Henri Fayol
 เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory) หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่  เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
 1. การวางแผน(Planning)   


 2. การจัดองค์การ(Organizing)


 3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)


 4. การประสานงาน (Coordinating)
 5. การควบคุม (Controlling)

อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)
         อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
         1. การจัดแบ่งงาน (division of work)
2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority)
3. ความมีวินัย (discipline)
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command)
5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction)
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration)
8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization)
9. สายบังคับบัญชา (scalar chain)
10. ความเป็นระบบระเบียบ (order)
11. ความเท่าเทียมกัน (equity)
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel)
13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)
14. วิญญาณแห่งหมู่คณ (esprit de corps)
Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1.องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน (Division of labor)
2.องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy) 
3.ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection) 
4.องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
5.ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality)
6.การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation)


Luther Gulick : POSDCORB
Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB (CO คือคำเดียวกัน) กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
P  คือการวางแผน (planning)  หมายถึง  การกำหนดเป้าหมายขององค์การ
         O คือการจัดองค์การ (organizing)  หมายถึง การจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการ
D  คือการสั่งการ (directing)  หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
S  คือการบรรจุ (staffing)  หมายถึง  หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
         CO คือการประสานงาน (co-ordinating)  หมายถึง  หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสาน
  r คือการรายงาน  (reporting)  หมายถึง  การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การ
B  คือการงบประมาณ (budgeting)  หมายถึง หน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณ

Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
นโยบายขององค์กร
การบังคับบัญชา
ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
2. ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
ทำงานได้ด้วยตนเอง
ความรับผิดชอบ

Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายให้มีความรับผิดชอบ
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ

Henry L. Gantt : ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)
Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วเขายังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่ โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ

Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion Studies
แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the o­ne best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)พวกเขาได้นำกล้องเพื่อทำการถ่ายรูปเก็บข้อมูล นำมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์ 

กิจกรรมที่ 1 การบริหารจัดการในชั้นเรียน


              ความหมายของคำว่า การบริหาร  การศึกษา  การบริหารการศึกษา  ศึกษาหลักการบริหารเบื้องต้น  ให้นักศึกษาสรุป คำสำคัญ (Keyword) จากการศึกษาเอกสารความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหา
1. ความหมายการบริหาร
     การบริหาร หมายถึง การทำงานของกลุ่มบุคคล เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ให้มีประสิทธิภาพ
2. ความหมายการศึกษา
     การศึกษา หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ที่จะพัฒนาบุคคลในสังคมให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความคิด และความเป็นคนดี
3. ความหมายการบริหารการศึกษา
    การบริหารการศึกษา หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาบุคคลต่างๆ ในสังคมให้มีคุณภาพสูงสุด ทั้งด้านสติ ปัญญา อารมณ์ ซึ่งผลการดำเนินงานจะต้องบรรลุตามจุดประสงค์
ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการการบริหารอื่นๆ โดยวิเคราะห์จากทฤษฏี
        1. ความมุ่งหมายหรือวัตุประสงค์ เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่หวังผลกำไร
        2. บุคคล ครูและนักเรียน
        3. กรรมวิธีในการดำเนินงานกรรมวิธีที่หลากหลายในการพัฒนาคน
        4. ผลผลิต ได้คนที่มีคุณภาพ

แนะนำตัวเอง

ชื่อ นายนูรุดดีน กลอนเสนาะ ชื่อเล่น ดีน
เกิดวันที่ 08 เดือน มกราคม พ.ศ.2534  กรุ๊ปเลือด โอ                         ที่อยู่162 .2 ต.ปาล์มพัฒนา  .มะนัง  จ. สตูล  91130  
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช    คณะครุศาสตร์
หลักสูตรสังคมศึกษา ปี 3  ห้อง 04  รหัสนักศึกษา 5311116195
อุดมคติ คิดก่อนที่จะทำ ไม่ไช่ทำก่อนคิด
อารที่ชอบ ปลาดุกทอดกรอบ  สีที่ชอบ ฟ้า
ความฝัน เป็นครูที่ดีในวันข้างหน้า                                                         งานอดิเรก  อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย
อีเมลล์  nuruden195@gmail.com   facebook  ศรัทธา ฟ้าเดียวกัน