วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบปลายภาค


ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
 ตอบ  แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือที่มีความเป็นมากยาวนาน สันนิษฐานและกล่าวกันว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสาหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึง บนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกันทั้ง 2 ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร  ชาวโรมัน เกี่ยวกับลักษณะของการใช้เทคนิคดังกล่าวนี้จะมีชื่อเรียกว่า “Cerae” ที่ใช้ในการพิมพ์ภาพบนฝาผนังที่วินโดแลนดา บนฝานังที่ชื่อผนังฮาเดรียน (อ้างอิงจากhttp://www.addkutec3.com)ในแท็บเล็ตปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ "แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษดินขี้ผื้งไม้หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC  และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต ในปัจจุบัน แท็บเล็ต ถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค(อ้างอิงจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ,TabletD.com)
ประโยชน์และความสำคัญของแท็บเล็ต
1.  สนองต่อความเป็นเอกัตบุคคล คือสนองความต้องการของตัวบุคคล จะมีความต้องการในการติดตามช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ใช้บรรลุผลและมีความก้าวหน้าทางการเรียน
2.  เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย เป็นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันบางครั้งต้องอาศัยการจำลองสถานการณ์เพื่อการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้แท็บเล็ตจะมีศักยภาพสูงในการช่วยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ได้
3. เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ คือช่วยให้นักเรียนเกิดการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ซึ่งกันและกันจากช่องทางการศึกษาการเรียนรู้หลายช่องทางอีกทั้งยังเป็นการประยุกต์การเรียนรู้ร่วมกันของบุคลในการสื่อสารหรือสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ
มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่ชัดเจนในการเรียนรู้จากแท็บเล็ตจะมีการออกแบบเนื้อหาหรือหน่วยการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ความรู้สึก หน่วยการเรียนรู้นั้นก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานและหลักการที่สามารถยืดหยุ่นได้
5.        สามารถสะท้อนผลต่อผู้เรียน/ผู้ใช้ได้ดี และช่วยสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้ และสามารถประเมินและประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6.         สนองต่อคุณภาพด้านข้อมูลสาระสนเทศ คือสื่อมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงต่อผู้เรียนหรือผู้ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ ซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนถูกต้องในการกำหนดมโนทัศน์ที่ดี(อ้างอิงไพฑูรย์ ศรีฟ้า ( 2554 ) เปิดโลก Tablet สู่ทิศทางการวิจัยด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา


    จากที่ได้กล่าวไปนั้นผู้คนจำนวนมากทั้งนักศึกษาและคนที่ใช้เครื่องแท็บเล็ต คิดว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญ โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ที่นับว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ที่นิยมใช้กันในสังคมยุคออนไลน์ เช่น ใช้ในการประกอบอาชีพรวมไปถึงการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและทุกภาคส่วน พกพาสะดวกและมีประสิทธภาพสูงในการใช้งาน ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยเองก็ได้นำเข้ามาให้นักเรียนไทยโดยเริ่มใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ให้เปลี่ยนความคิด มุมมอง เปลี่ยนทัศนคติโดยเฉพาะครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาตนเองในการใช้แท็บเล็ตอีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้าง           นวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต  เพื่อให้ครูและนักเรียนเกิดความคุ้นเคย และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ต ทำให้นักเรียนนักศึกษาก้าวทันเทคโนโลยีไปพร้อมๆกับการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย
          ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปซึ่งแน่นอนว่าเราเปลี่ยนตามสิ่งเหล่านั้นไปได้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัยขึ้น แต่ก็ต้องใช้แท็บเล็ตให้เกิดประโยชน์ในทางการศึกษาให้มากที่สุดอย่าใช้ในทางที่ไม่ดีและไม่ถูกต้อง เพราะมีประโยชน์ก็ต้องมีโทษตามมา ซึ่งมันก็อยู่ที่ตัวของเราว่าจะเป็นผู้เลือกและกำหนดอย่างไร ควรใช้แท็บเล็ตให้ถูกต้องตามความเหมาะสมและเกิดผลดีมากที่สุด
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
ตอบ อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคงเศรษฐกิจองค์ความรู้สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก(อ้างอิง http://ประชาคมอาเซียน.net)  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดเนเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียตนาม ลาว พม่า  กัพูชา (อ้างอิงhttp://ประชาคมอาเซียน.net)
          อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ ดังนี้
1.การเมืองความมั่นคง
2.เศรษฐกิจ (AEC)
3.สังคมและวัฒนธรรม
(อ้างอิง http://www.km.mut.ac.th )
        จากการที่ได้อ่านและศึกษาเรื่องสมาคมอาเซียนมีความเป็นเห็นว่าเมื่อในแต่ละประเทศเข้ากลุ่มอาเซียนแล้วนอกจากเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นที่สามารถสร้างประโยชน์ซึ่งกันและกันแล้วยังรวมทั้งการศึกษาด้วย เพราะการศึกษาในยุคปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างมากทุกๆประเทศจะเดินต่อการศึกษาด้วยความสามัคคีและเดินไปพร้อมกันใน 10 ประเทศ สามารถไปเรียนในสถาบันการศึกษาใดๆก็ได้ที่ตนเองคิดว่าดี ตรงกับความสนใจ และค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไปรวมทั้งประเทศไทยเองก็ด้วยไม่ว่าจะเป็นนักเรียนเองที่ต้องเตรียมตัวในการศึกษาเข้าสู่สังคมอาเซียนที่ต้องพัฒนาด้านศักยภาพ พัฒนาเด็กความสามารถพิเศษ และที่สำคัญนักศึกษา นักเรียนไทยนั้นต้องพัฒนาทางด้านภาษาซึ่งไม่ได้หมายถึงการพูดคุยเท่านั้นแต่รวมทั้งในเรื่องของการฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่ใช้ในการเรียนและการสื่อสารทั้งนั้น เตรียมตัวในเรื่องของความพร้อมพร้อมทั้งร่างกายและหัวใจ คือต้องมีหัวใจแห่งการให้ มีจิตอาสา จิตในการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ไม่หยุดการเรียนรู้ โลกต้องหมุนด้วยความรู้ แต่ให้เราอยู่ด้วยความรัก สำคัญนักเรียนจะต้องมีเป้าหมายชีวิต มีความฝัน เขียนฝันและที่สำคัญนั้นก็ในเรื่องของทักษะชีวิต การทำงานอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ การทำงานเป็นทีม  มีความภูมิใจในความเป็นไทย  ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ใช้ชีวิตอย่างมีสติและปรับตัวในเรื่องของสังคม วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของในแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่วนครูเองที่มีการพัฒนาและเตรียมตัวคล้ายกับนักเรียนที่สำคัญเรื่องภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ต้องมีความเก่ง ท่องแท้สามารถสอนและถ่ายทอดให้นักเรียนได้ ครูไทยต้องฝึกจะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ใหม่ๆ คิดพัฒนาสื่อการสอนใหม่ๆ พัฒนาศักยภาพของนักเรียนตลอดจนการอบรมสังสอนให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกร่วมในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทย  ประชาคมอาเซียน และสังคมโลก
3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
          ตอบ จากการอ่านบทความของผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครูยกตัวอย่างเช่น ครูในปัจจุบันนอกจากการมีความรู้อย่างท่องแท้สอนเด็กให้เป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นคนดีแล้ว ครูต้องเป็นผู้ที่รอบรู้อ่านหนังสือที่ดีเพื่อใช้ในการเติมเต็มความรู้ประยุกต์สอนนักเรียน ต้องเป็นผู้ที่ทันสมัยทันต่อเทคโนโลยี รู้ประวัติของเด็ก ฝึกเด็กเป็นผู้นำกล้าแสดงออก ฝึกให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม และต้องมีบุคคลภายนอกมาสนับสนุนรับฟัง อีกทั้งต้องเป็นผู้ที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดจึงจะเป็นผู้ที่ได้รับความยอมรับจากนักเรียน เพื่อนครู และบุคคลภายนอกว่าเป็นครูที่มีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพอย่างแท้จริง
          จากบทความที่อ่านมีความคิดเห็นว่าเป็นบทความที่ดีอีกบทความหนึ่งที่คนเป็นครูจะต้องอ่านเพื่อนนำไปเติมเต็มความรู้และนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง การเป็นครูนั้นมิได้เพียงแค่คำพูดเท่านั้นแต่ควรจะแสดงออกมาให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู ความรัก ความเสียสละต่อส่วนรวม และความศรัทธาต่ออาชีพครู
4. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
          ตอบ  ตลอดระยะเวลาที่ที่เรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนมา เริ่มต้นจากการสร้างบล็อกเมื่อสร้างเสร็จ อาจารย์จะเป็นผู้สั่งและมอบหมายงานลงในบล๊อก กิจกรรมต่างๆตามที่อาจารย์กำหนด หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่นหนังสือ อินเตอร์เน็ต ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและสรุปเป็นความคิดเป็นของตัวของข้าพเจ้าเองจากนั้นก็อัปโหลดลงบล๊อกตามขั้นตอนที่อาจารย์ได้สอนไว้
          ต่อไปข้างหน้านั้นการเรียนรู้โดยการใช้บล๊อกจะเป็นสิ่งที่นิยมใช้เป็นอย่างมากเพราะเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ข้าพเจ้าภูมิใจที่ได้เรียนวิชานี้ เพราะเป็นสิ่งที่ดีมากในความคิดของข้าพเจ้า เป็นการเรียนรู้ที่ทันสมัยอีกทั้งในตอนนี้การเตรียมตัวต้อนรับประชาคมอาเซียนที่จะเข้ามาในปี2558 แล้วจึงจำเป็นอย่างมากและหากข้าพเจ้าไปเป็นครูก็คิดว่าคงจะมีการถ่ายทอดให้นักเรียนได้เรียนได้เรียนรู้หรืออาจจะประยุกต์ใช้กับการสอนให้กับนักเรียน
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร
          ข้าพเจ้าควรจะได้ เกรดเพราะข้าพเจ้าเป็นคนที่ไม่เก่งทางด้านเทคโนโลยี แต่มีความพยายามที่จะจะฝึกหัดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเรียนรู้จากสิ่งต่างๆมาทดสอบตัวของข้าพเจ้า ในแต่ละครั้งที่ทำกิจกรรมข้าพเจ้าพยายามทำให้ได้ด้วยความสามารถของตัวเอง และเมื่อเข้าเรียนเกือบทุกครั้งแต่ก้อมีบ้างที่ลาเพราะป่วยแต่ก้อทำงานส่ง และสรุปเป็นของตัวเองให้ได้หรือในบางครั้งก็ต้องปรึกษากับเพื่อนเพื่อให้เข้าใจตรงกันและเกิดการเรียนรู้ใหม่ๆขึ้นมาผสมผสานกัน
         

กิจกรรมที่ 9

                                                                    ลักษณะห้องเรียนที่ดี

          ลักษณะห้องเรียนที่ดีของข้าพเจ้านั้นจะต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ควรจะต้องมีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านแสงสว่าง การระบายอากาศ ความสะอาด ความปลอดภัย ตลอดจนความเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน การจัดสภาพห้องเรียนที่ดีไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งถาวร แต่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ลักษณะของบทเรียน หรือกิจกรรมที่ครูนำมาใช้ประกอบบทเรียน และไม่จำเป็นที่จะยึดติดการจัดห้องเรียนในรูปแบบเดิมๆ

กิจกรรมที่ 8

                                                   
                                                                 ครูมืออาชีพ
      

       ข้าพเจ้าขอกล่าวถึงการเป็นครูมืออาชีพ คือต้องเป็นนักประชาธิปไตย ครูจะต้องไม่เป็นเผด็จการ ต้องให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยยินดีรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนอย่างจริงใจและจริงจัง โดยเมื่อนักเรียนวิพากษ์วิจารณ์ก็เอาไปพิจารณาแล้วปรับปรุง โดยเมื่อนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียน ครูจะให้นักเรียนได้มีความสุขในการเรียนหนังสือ โดยจุดประสงค์สูงสุดของครูคือ “ความสุขของเด็ก” ครูจะให้ความสำคัญกับเด็กมากโดยมองเห็นนักเรียนเป็นดั่งผู้ใหญ่คนหนึ่ง มองเห็นนักเรียนเป็นดั่งกัลยาณมิตรคนหนึ่ง มองเห็นนักเรียนเป็นดั่งบุตรในอุทร  ครูจะไม่สอนให้นักเรียนโตขึ้นไปเป็น “เจ้าคนนายคน” แต่จะสอนให้นักเรียนโตขึ้นไป “รับใช้ประชาชน” ครูจะสอนให้นักเรียนว่า สิทธิมนุษยชน สำคัญอย่างไร? ครูจะเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อความเที่ยงธรรมยุติธรรมในสังคม  ครูจะสอนให้นักเรียนแต่ละคนรู้จักเสียสละไม่ไปแก่งแย่งชิงดีหวังเป็นที่หนึ่ง  ครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักความมีเมตตากับเมตตามาบรรสานกับกรุณา ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ครูนั้นจะเป็นอันดับหนึ่งในทุกศาสตร์ทุกแขนงในการนำพาลูกศิษย์สู่ปัญญาอันมีความงาม ความดี ความจริงอยู่ด้วย
      ครูจะหมั่นเรียนรู้เรื่องราวของโลก ครูจะไม่ล้าสมัยจะไม่งมงาย ครูจะสอนถึงความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อนมนุษย์ที่ยากไร้ให้พวกเราไม่ลืมพวกเขา ไม่ใช่ให้เราเป็น “ยังมีคนเหนื่อยยากกว่าพวกเรา ไม่ได้รับการศึกษา”แต่จะให้นักเรียนเห็นถึง โครงสร้างสังคมอัน อยุติธรรม ครูจะสอนให้พวกนักเรียนโตขึ้นไปเป็น “พลเมืองโลก”ช่วยเหลือพวกเขา                              
                                     เช่นการสอนวิชาสังคมศึกษา                                                   
     ครูสังคมศึกษา จะสอนให้นักเรียนได้รับรู้ถึงสภาพสังคมที่อยุติธรรมที่เลวร้าย จะสอนให้นักเรียนได้เป็นผู้กล้าหาญต่อสู้กับความอยุติธรรมในสังคม ครูจะสอนภูมิศาสตร์ให้นักเรียนรู้ว่ายังมีคนอีกมากที่ประสบปัญหาและเราควรจะช่วยเขา ครูจะสอนให้เรารู้ถึงประเทศเพื่อนบ้านมิตรภาพ ไม่ใช่สอนให้ดูถูกว่าประเทศเพื่อนบ้านว่าเขา “จน” เขา “โง่” ครูจะสอนการเมือง ให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์นักการเมือง รู้ทันโวหารนักการเมือง และครูจะไม่สอนในสิ่งที่ไม่จริงในสิ่งที่เท็จโดยบิดเบือนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรื่องเศรษฐศาสตร์ ครูจะสอนเศรษฐศาสตร์ที่ไม่เอาเปรียบธรรมชาติ เพื่อนมนุษย์ จะสอนให้เห็นถึงความหลากหลายทาง “ชาติพันธุ์”โดยเรื่องสิทธิมนุษยชน ในฐานะพลเมืองโลกก็จะสอน จะสอนให้เคารพในสตรีเพศ สอนให้เคารพในบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย

                                             
     สังคมครู ครูจะไม่แก่งแย่งชิงดีกัน ครูจะไม่วันๆเอาแต่ทำการวิจัย จะไม่หวังว่าจะเลื่อนลำดับวิทยฐานะ โดยระลึกอยู่เสมอว่าโตขึ้นมาเป็นครูอาชีพนี้จะต้องเป็น “แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ แห่งชาติ”ไม่ใช่เป็น “ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ” โดยยึดหลักว่าจะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ เมื่อให้แล้วย่อมได้ในสิ่งที่สมควรจะได้ สังคมครูจะมีความสุขเป็นฉันท์พี่น้อง ไม่นินทาด่ากันทั้งต่อหน้าและลับหลัง    ผู้อำนวยการก็จะไม่เป็นเผด็จการ รองผู้อำนวยการก็จะเป็นกัลยาณมิตรให้ผู้อำนวยการด้วย แต่ละคนต่างส่งเสริมความดีของกันและกัน เพื่อประโยชน์ “นักเรียน”เป็นที่ตั้งเท่านั้น

กิจกรรมที่ 7


ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่องฉันรักบ้านเกิดสอนโดย
คุณครูประจักษ์ เอี้ยงเขื่อน โรงเรียนสว่างอารมณ์วิทยาคม  
ระดับชั้นที่สอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
            ต้องการให้นักเรียนภูมิใจในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัย กิจกรรมการเรียนนั้น ครูสอนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการเกื้อหนุนต่อนักเรียนในท้องที่นั้น นักเรียนจะได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับจังหวัดของตนเอง ในด้านต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครอง สภาพเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจังหวัดของตนเองแล้วนั้นทำเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และหวงแหน ในท้องถิ่นของตนเองที่อาศัย  
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
    ด้านสติปัญญา
-  คุณครูถามคำถามเรื่องท้องถิ่นของนักเรียนแล้วให้นักเรียนตอบคำถามจากความคิดของตนเองแล้วนำมาเขียนลงบนกระดาน
นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เพื่อที่จะนำไปวางแผนในการสำรวจชุมชน
    ด้านอารมณ์
- นักเรียนกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนทำโครงงาน
นักเรียนได้สอบถามหาความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านในชุมชน
นักเรียนกล้าที่จะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
    ด้านคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนในกลุ่มให้ความร่วมมือกันในการวางแผนลงสำรวจชุมชนอย่างสามัคคี ไม่เอาเปรียบกันในการทำงาน ช่วยเหลือกันในการทำโครงงาน
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
ให้นักเรียนนั่งรวมกันเป็นกลุ่มทำให้ปรึกษาร่วมกันได้
ติดพัดลมภายในห้องเรียนทำให้นักเรียนไม่ร้อนจึงมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น
มีการติดข้อมูลความรู้ต่างๆไว้บริเวณห้องเพื่อให้นักเรียนไว้อ่านเพิ่มเติมความรู้
มีอุปกรณ์ช่วยสอน เช่น กระดาน เครื่องเล่นวีดีโอ โทรทัศน์ ฯลฯ ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่สะดวกขึ้น



กิจกรรมที่ 5


ครูในดวงใจ


Blank

ครูสิริพร  กุ่ยกระโทก  (ครูอ้อย แซ่เฮ)
เกิด 7 มกราคม 2501 54 ปี 
ป.1-7 โรงเรียนสตรีวรนาถบางเขน
ม.ศ.5 แผนกศิลปภาษา  ร.ร.ศรีบุณยานนท์  นนทบุรี
คบ.เอกภาษาอังกฤษ   โทศิลปะ  วิทยาลัยครูพระนคร  บางเขน  กทม.
ศษ.ม.หลักสูตรและการสอน  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  หัวหมาก  กทม.
                                ปฏิบัติราชการ  
 ครูผู้สอน  ภาษาอังกฤษ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี)  สพป.กทม.  
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) 2544-ปัจจุบัน
หัวหน้าโครงการวิจัยโรงเรียน  2548-ปัจจุบัน
ได้รับมอบหมายให้ดูแลปฏิบัติการเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากล 2551-ปัจจุบัน


                                                      เกียรติประวัติ
   ครูดีเด่นการสอนภาษาอังกฤษ  ระดับกลุ่มโรงเรียน  2539 -254
   ข้าราชการครูตัวอย่าง  ระดับ 6 -8  กระทรวงศึกษาธิการ  2544
   ครูผู้มีผลงานดีเด่น  เพื่อรับรางวัลคุรุสภา  ระดับเขตการศึกษา 2544
   เครื่องหมาย  เข็มคุรุสดุดี   สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 2545
   ครูตัวอย่างแห่งปี  วารสารสารคดีคนดีสร้างชาติ  2545
   ครูนักวิจัยยุคปฏิรูป  สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา  2546
   ครูดีในดวงใจ  ระดับสำนักงานเขตพื้นที่ กทม.เขต 2   2546
   ครูดีในดวงใจ ครั้งที่ 2 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่ กทม.เขต 2  2554
   รางวัล  หนึ่งแสนครูดี  สำนักเลขาธิการคุรุสภา  กทม  2555
   ครูนักคิดประดิษฐ์สื่อฯ  รางวัลชมเชย
   แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.4    2547
   ศึกษาและวิจัยการสอนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์   2548
   ได้รับทุน สพฐ.ศึกษาดูงานการสอนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์   2548
    รางวัล " ครูเพื่อศิษย์ " สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้สู่สังคม
     ครูดีในดวงใจ  ระดับสถานศึกษาปีการศึกษา  2554
     ได้รับรางวัล  สตรีไทยรู้เท่าทันกับการดูแลสุขภาพตนเอง
                                             ประสบการณ์การทำงาน
       2523  ตำแหน่ง  อาจารย์ 1 ระดับ 3  
       บรรจุเข้ารับราชการ  ร.ร.วัดสโมสร  นนทบุรี
      2525   โอนย้าย  ร.ร.บ้านสีมุม  นครราชสีมา                                       
       2538   ย้าย  ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) สพป
       2539   อาจารย์ 2 ระดับ 7 ร.ร.พระยาประเสริฐ
       2548   ครู คศ.3  ร.ร.พระยาประเสริฐ ฯ
       2551-ปัจจุบัน    กำลังทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ
                                                  วิทยากร
     2545  วิทยากรพี่เลี้ยงการจัดทำกำหนดตำแหน่งอาจารย์ 3
     2547  จนปัจจุบัน    วิทยากรศูนย์ ERIC ร.ร.สตรีวิทยา 2
    2549- ปัจจุบัน  วิทยากรพี่เลี้ยงการจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนเป็นครูชำนาญการพิเศษ
    2550  วิทยากรการจัดการความรู้ในบล็อก
    2551  วิทยากรที่ปรึกษาการจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนเป็นครูชำนาญการพิเศษ
                                                การฝึกอบรมศึกษาดูงาน
  2548   ฝึกอบรมและศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 
  ศูนย์ SEAMEO RELC ประเทศสิงคโปร์
  2552   ฝึกอบรมและศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 
  2553 ถึงปัจจุบัน  กรรมการสมาคมนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยรามคำแหง2554  
  2555  ศึกษาดูงานการสอนโรงเรียนประถม NGUYEN BINH KHIEM เวียดนาม
                                              ผลงานทางวิชาการ
วิจัยในชั้นเรียน   เทคนิคการสอนโต้ตอบทางสรีระ " พยัญชนะพิศวง " ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
วิจัยในชั้นเรียน  การใช้ " ภาษาอังกฤษเยือนบ้าน " เป็นสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
วิจัยในชั้นเรียน  การใช้ " หนังสือภาพ " เป็นแบบเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
วิจัยในชั้นเรียน  สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  " หนังสือเล่มเล็ก " ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
วิจัยในชั้นเรียน  สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  " หนังสือเล่มเล็ก " ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
วิจัยในชั้นเรียน  ความพึงพอใจในการสอนภาษาอังกฤษโดยครูจ้างชาวต่างประเทศ
วิจัยในชั้นเรียน  กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ...กำลังดำเนินการ
วิจัยในชั้นเรียน  11วิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอ.....กำลังดำเนินการ
วิจัยในชั้นเรียน  รูปแบบ 11 วิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของครูผู้สอน  โดยใช้เครือข่ายศูนย์ประสานการพัฒนาคุณภาพวิชาการ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2

 Large_dsc03794